แรงบันดาลใจของเหล่านักท่องเที่ยว ที่อยากสัมผัสประสบการณ์เพื่อเปลี่ยนตัวเองให้ต่างไปจากเดิมหรือที่เรียกว่า Slo-Mo (Slow Missing Out) เน้นคำว่า “ไปทำอะไร” มากกว่าจะ “ไปที่ไหน” ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมองหากิจกรรมก่อนจุดหมายปลายทาง จึงมีนิยามนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ว่า Transformative Tourism หรือการท่องเที่ยวเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง เป็นการเที่ยวโซนด้านบนของปิรามิด Maslow สำหรับคนที่ต้องการ “เป็นคนใหม่” หลังจากเที่ยว
งานวิจัยจาก East Carlolina Unversity ร่วมกับ ATTA (Adventure Travel Trade Associaltion) และ Outside Magazine สื่อที่เกี่ยวกับกีฬาและกิจกรรม Outdoor รายงานว่า จุดประสงค์ของคนที่ชอบเที่ยวแบบมีกิจกรรมผจญภัยนั้นได้เปลี่ยนไปจากเดิม จากเคยนิยามว่า ที่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ต้องการ ความสะใจ ความหวาดเสียว บ้าพลังเปลี่ยนไปเป็น เรียนรู้ ความหมาย และวัฒนธรรม
Transformational Travel Council องค์กรที่โปรโมทการเที่ยวแบบนี้ ให้นิยามองค์ประกอบหรือหัวใจสำคัญของการท่องเที่ยวแบบนี้ไว้คือ H.E.R.O Keywords 4 คำคือ Heart เที่ยวด้วยหัวใจ Engagement มีส่วนร่วม Resolve Challange ตอบโจทย์ความท้าทาย และ Open to the Unknown เปิดโลกทัศน์กับสิ่งที่ไม่รู้
ดังนั้นการได้ไปใช้ชีวิตร่วมกับคนท้องถิ่น หรือการ ท้าทายตัวเองระหว่างเที่ยว ทำในสิ่งที่เคยคิดว่าทำไม่ได้ หรือ investigate ประเด็นสิ่งแวดล้อม ช่วยสอนหนังสือ เข้าเรียนคอร์สทำกับข้าวจริงจังตั้งแต่ตามหาแหล่งลูก สรรหาวัตถุดิบ ฯลฯ ไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศ ก็ถือเป็น transformative travel ได้แล้ว
ส่วนสไตล์ ของ transformative tourism ก็มีความแตกต่างจากการเที่ยวแบบดั้งเดิมมาก เพราะค่อนข้างส่วนตัวแบบไม่แคร์สื่อ ตอบโจทย์เฉพาะตัว อาศัยข้อมูลมาก ทำการบ้านมาก เหนื่อยกว่าและมีความท้าทายสูงกว่า ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของร่างกายหรือจิตใจ แทนที่จะนึกถึงสถานที่อยากไปเป็นอันดับแรก ก็ตั้งโจทย์ว่า “อยากได้อะไร” จากการเที่ยวนี้ก่อนแล้วรายการกิจกรรมและสถานที่เที่ยวจึงค่อยตามมา ถามว่าจะเปลี่ยนโฉมหรือเป็นเทรนด์หรือไม่ ต้องติดตามเพราะตอนนี้ถือว่ายังเป็นเพียงแค่คนกลุ่มจำนวนน้อยเท่านั้น
ที่มา
- https://www.transformational.travel
- https://www.unwto.org/digital-transformation
- https://www.dot.go.th/storage/