About
TRENDS

Disaster Tourism เที่ยวไปกับภัยพิบัติ

Disaster Tourism เที่ยวไปกับภัยพิบัติ ตามรอยความสะเทือนอารมณ์

เรื่อง วิชชุ ชาญณรงค์ ภาพประกอบ ANMOM Date 11-12-2020 | View 3169
Beingthere Detour Be myguest FLAVOR Resound art+culture Insights Trends Business Insiders Balance Craftyard News
Read At ONCE
  • Disaster Tourism คือการท่องเที่ยวในสถานที่ที่เคยเกิดภัยพิบัติ และกำลังเป็นกระแสมาแรงที่จับกลุ่มนักเดินทางเฉพาะกลุ่ม ผู้ชื่นชอบการผจญภัย และชวนรำลึกถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้น
  • Disaster Tourism หรือบางครั้งถูกเรียกว่า Dark Tourism มีทั้งสถานที่ที่เคยเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และจากฝีมือมนุษย์เอง
  • การท่องเที่ยวภัยพิบัติ มีเงื่อนไขบางประการที่นักเดินทางต้องเรียนรู้ และปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการให้เกียรติ แสดงความเคารพต่อสถานที่ และความปลอดภัยของตัวเอง

ไม่น่าเชื่อว่าปัจจุบัน Disaster Tourism หรือการท่องเที่ยวภัยพิบัติ กลายเป็นกระแสที่มีคนสนใจ ทั้งนักวิชาการ นักท่องเที่ยวและชุมชน แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวเพียงบางกลุ่มเท่านั้น และเพราะ ‘ภัยพิบัติ’ ไม่เข้าใครออกใคร ความพร้อมของกายและใจจึงเป็นสิ่งที่เราต้องพกพาระหว่างออกเดินทางด้วยทุกครั้ง

ปอมเปอี อิตาลี

ยินดีที่ได้รู้จัก ท่องเที่ยวภัยพิบัติ

‘Disaster Tourism’ บ้างก็เรียกนิยามการท่องเที่ยวแบบนี้ว่า ‘Dark Tourism’ หมายถึงการท่องเที่ยวบริเวณที่เคยเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ บางครั้งอาจมีการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม แผ่นดินไหว สึนามิ หรือท่องเที่ยวในสถานที่ซึ่งเกิดจากภัยโดยมนุษย์โดยตรง เช่น มลภาวะ ปรมาณู กัมมันตภาพรังสีรั่วไหล แก๊สระเบิด ตึกถล่ม ฯลฯ

เราจะเที่ยวกันยังไงล่ะ?

อาจไม่ใช่เรื่องแปลกหากกฎมีไว้แหกสำหรับนักท่องเที่ยวบางประเภท แต่จะดีกว่าไหมหากคุณท่องเที่ยวภัยพิบัติไปพร้อมกับความรับผิดชอบ ไม่ว่าคุณจะเป็นแบคแพคเกอร์ นักแอดเวนเจอร์ นักสำรวจ จะต้องเคารพให้เกียรติกับสถานที่ ผู้คนและกิจกรรม โดยยอมรับกฎระเบียบเพื่อความปลอดภัยของทุกฝ่าย และศึกษาความเป็นมาหรือข้อมูลเบื้องต้นก่อนจะเดินทางเข้าไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

สำคัญคือเราควรต้องตระหนักว่า ภัยพิบัติเป็นเรื่องไม่แน่นอน การเตรียมความพร้อม ทั้งเสื้อผ้า อุปกรณ์จำเป็นในการเดินทาง จึงเป็นสิ่งสำคัญเสมอก่อนออกเดินทางแต่ละครั้ง เพราะหากนึกถึงการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่มีแนวโน้มจะเกิดสูงขึ้นเรื่อยๆ การเปลี่ยนวิธีคิดในการเที่ยว ปรับมุมมองเรื่องภัยพิบัติเข้าไปด้วย เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวทุกประเภทจะต้องนึกถึงอยู่เสมอ และควรคำนึงเป็นสิ่งที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

ที่เที่ยวในตำนาน ต้องไปสักครั้งก่อนตาย

หลายครั้งที่การท่องเที่ยวภัยพิบัติจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการท่องเที่ยวขนาดใหญ่และเฉพาะกลุ่ม อาทิ หลายปีก่อนเคยมีบริษัททัวร์ Blue Marble Private ในประเทศอังกฤษ ได้จัดทัวร์ดำน้ำ 8 วัน เข้าไปชม เรือไททานิกที่จมอยู่ลึกเกือบ 4 กม. อย่างใกล้ชิด แต่ไม่ใช่ทุกคนจะได้มีโอกาสร่วมทัวร์ในครั้งนี้นะ เพราะเขาจำกัดเพียง 9 คนเท่านั้นและผู้ที่จะเข้าร่วม ได้ ต้องมีประสบการณ์ ในการดำน้ำลึกมาก่อนด้วย

เรือไททานิก

ขณะที่ทัวร์เชอร์โนบิลซึ่งเป็นพื้นที่ประสบเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดทางตอนเหนือของยูเครน ก็ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม โดยสำนักข่าวแห่งชาติยูเครน ระบุว่าในปี 2018 มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกแวะเวียนมายังเชอร์โนบิลราว 60,000 คน แม้จะมีเพียงบางส่วนที่เข้าไปได้และมีการจำกัดระยะเวลาก็ตาม

ภายในเชอโนบิล โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

เชอโนบิล โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ด้านการท่องเที่ยวยูเครน กล่าวเช่นกันว่า ปีนั้นมีการจองทัวร์เที่ยวเชอร์โนบิลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 นอกจากนี้ทั่วโลก นอกจากเชอร์โนบิลแล้ว ยังมีสถานที่หลายแห่งในฮาวายไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์สึนามิแปซิฟิกที่เมืองไฮโล หรือท่าเรือเพิร์ลฮาเบอร์ กราวด์ ซีโร่ ในนิวยอร์ก อดีตพื้นที่เรือนจำ ก็ได้เปิดพื้นที่ให้คนทั่วไปได้เยี่ยมชมในปัจจุบัน

ส่วนในแดนปลาดิบอย่างญี่ปุ่นที่มีพื้นที่ภัยพิบัติจำนวนมาก ถ้าพื้นที่สงครามก็เช่น โอกินาวา อิโวะโตะ หรือฮิโรชิม่าและนางาซากิ ซึ่งเคยถูกทิ้งระเบิดนิวเคลียร์หรือปราสาทคุมะโมะโตะที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากแผ่นดินไหว ก็แปรเปลี่ยนพื้นที่ตัวเองให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ผ่านการระลึกถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังมี ปอมเปอี สุสานใต้ลาวานครแห่งความตาย ในแคว้นคัมปาเนีย ในกรุงโรมอิตาลี ที่บางคนถึงกับตั้งใจไปสักครั้งก่อนตาย และแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลก จัตุรัสบัคตาปูร์ ดูร์บาร์ ของเนปาลก็ได้รับความสนใจดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าไปอย่างท่วมท้นภายหลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงในรอบ 80 ปีเมื่อ 5 ปีก่อน

ในเมืองไทย…มีไหม?

สำหรับบ้านเราที่เห็นได้ชัดจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย สืบจากเมื่อทางการได้เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม หลังเหตุการณ์ทีมหมูป่าได้ผ่านพ้นมาแล้ว

ถ้ำขุนน้ำนางนอน เชียงราย

ไม่เพียงเท่านั้นภาคใต้ก็มีหลายสถานที่เป็นจุดร่วมรำลึกเหตุการณ์อย่าง อนุสรณ์สถานสึนามิ เรือ ต 813 ตั้งอยู่ที่ บ้านบางเนียง อำเภอเขาหลัก จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นบริเวณประสบกับคลื่นยักษ์สึนามิครั้งรุนแรงที่สุดในประเทศไทย เมื่อปี 2547

อนุสรณ์สถานสึนามิ ต 813 พังงา

บ้านคีรีวง อีกแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของนครศรีธรรมราช ซึ่งแท้จริงแล้วก่อนจะถูกโปรโมทให้เป็นพื้นที่มีโอโซนดีที่สุดในประเทศไทยก็เคยประสบภัยพิบัติครั้งใหญ่เช่นกัน

หมู่บ้านแห่งนี้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ เมื่อปี 2531 จากเหตุน้ำป่าไหลหลาก น้ำป่าทะลักพร้อมดิน โคลน ทรายและไม้ซุงจากเทือกเขาหลวงไหลบ่า ทับถมทำลายบ้านเรือน วัด โรงเรียน ชีวิตผู้คนล้มตายเกิดความเสียหายมากมาย ก่อนจะพลิกฟื้น ด้วยจุดขายด้านธรรมชาติ อากาศบริสุทธิ์ ร่องรอยของบ้านประวัติศาสตร์ที่ยังเหลือร่องรอย โคลนถล่มจนเหลือบ้านครึ่งหลัง ต่อมาเกิดการต่อยอดรวมกลุ่มทำกิจกรรมโดยชุมชน เช่น กลุ่มลายเทียนบาติกสีธรรมชาติ กลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มลูกไม้ กลุ่มบ้านสมุนไพร ฯลฯ

 

ส่งเสริม สนับสนุน…

การถอดบทเรียนของสถานที่ต่างๆ ซึ่งเคยได้รับผลกระทบและเกิดภัยพิบัติแต่ละแห่ง ต่างมีรูปแบบ การจัดการและสร้างกิจกรรมที่หลากหลาย มีทั้งเหมือนและแตกต่างกัน อาทิ การจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลประกอบความรู้ที่ถูกต้อง โดยจัดแสดงนิทรรศการในรูปแบบต่างๆ ทั้งการโปรโมทผ่านสื่อ การจำลองห้องและข้าวของที่เหลืออยู่ จัดทำวิดีโอ ทำสเปเชี่ยลเอ็กเฟ็กต์ จำลองการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ฯลฯ หรือสร้างเป็นภาพยนตร์ แอนนิเมชั่น เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นเหตุการณ์จำลอง ซึ่งเคยเกิดขึ้นจริง

บางแห่งสร้างสรรค์กิจกรรมที่ส่งเสริมสัมพันธภาพ การสร้างความเข้าใจ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน สร้างความตระหนักรู้ ฟื้นฟูและต่อยอดสิ่งที่มีในท้องถิ่นให้เป็นกิจกรรมเวิร์คชอป ทำ CSR จำหน่ายสินค้าที่ระลึกสินค้าท้องถิ่นฯลฯ

นักเดินทางแบกเพ้

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวได้ให้ความเห็นในมิติต่างๆ เกี่ยวกับมุมมองด้านการท่องเที่ยวภัยพิบัติว่า ควรเริ่มหลังจากช่วงเวลาการรับมือภัยพิบัติ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการช่วยเหลือและฟื้นฟู ซึ่งจะช่วยส่งเสริมรายได้และสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ หรือหมายถึง ผู้ดำเนินการและผู้จัดการด้านท่องเที่ยวควรเป็นคนในพื้นที่เอง เพราะเหตุร้ายเหล่านี้ จะกลายเป็นสิ่งระลึกเรื่องราวหรือ Storytelling ที่ตรงไปตรงมาและจริงใจอย่างที่สุด ในการถ่ายทอดบอกกล่าวผู้มาเยือน รวมถึงสิ่งสำคัญคือ การสร้างความตระหนักร่วมกัน ผ่านความรู้สึกและสิ่งที่ได้สัมผัสด้วยสายตาตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องราวของภัยธรรมชาติที่ใครๆ ต่างไม่คาดคิด…

ที่มา

  • https://www.researchgate.net/publication/330846474_karthxngtheiyw_phayphibati
  • https://www.tatreviewmagazine.com/article/disaster-tourism
  • https://www.gotokyo.org/th/spot/484/index.html

 

 

Tags: