About
TRENDS

เดินไชน่าทาวน์

‘เดินไชน่าทาวน์’ แอปพลิเคชันที่เล่าทุกตรอกซอกซอยของสัมพันธวงศ์

เรื่อง วิชชุ ชาญณรงค์ ภาพประกอบ Pattanaphoom P. Date 25-12-2020 | View 1599
Beingthere Detour Be myguest FLAVOR Resound art+culture Insights Trends Business Insiders Balance Craftyard News
Read At ONCE
  • ไม่ใช่เรื่องแปลกเมื่อโลกเปลี่ยน เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลรูปแบบใหม่ๆ ก้าวเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การใช้ชีวิตของผู้คนและสิ่งแวดล้อมรอบตัว จากวิธีการสื่อสารปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคม
  • พฤติกรรมนักเดินทาง ที่ชอบใช้เทคโนโลยีได้เปลี่ยนรูปแบบการท่องเที่ยวเดิมๆ โดยสิ้นเชิง แม้แต่การเดินเที่ยวก็ไม่จำเป็นต้องกางแผนที่อีกต่อไปแล้ว เพราะมีแอปพลิเคชันเข้ามาตอบโจทย์ เป็นอีกโซลูชั่นหนึ่งที่ช่วยทำให้เดินทางได้ง่ายขึ้น
  • รู้จักกับ ‘เดินไชน่าทาวน์’ โครงการชวนเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมชุมชน ผ่าน walk.in.th เว็บแอปพลิเคชันที่จะทำให้ทุกเส้นทางกลายเป็นตรอกซอกซอยที่น่าเดินสำหรับทุกคน

ผู้หญิงชุดส้มเดินเที่ยวเยาวราช

เดินเท้าเที่ยวกันไหม?

ว่ากันว่า ‘การเดินเท้าเที่ยว’ ตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ได้หลายเหตุผล เพราะสามารถใช้สองขาก้าวเดินเพลินๆ ลัดเลาะไปตามตรอกซอกซอย แวะถ่ายรูปตรงนั้น ทักทายผู้คนตรงนี้ ชิมของอร่อยสองข้างทาง ทั้งยังประหยัด อิสระ และได้ออกกำลังกายไปในตัว

ผลสำรวจของ Booking.com เกี่ยวกับนักเดินทางที่มองหาวิธีใหม่ๆ เพื่อออกสำรวจจุดหมายของตน ในปี 2019 พบว่ากว่า 40% ของนักเดินทางชาวไทยสนใจการเดินเที่ยว โดยเฉพาะพื้นที่เขตเมือง (urban) ทั้งๆ ที่บ้านเราอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าว การจราจรก็ไม่เอื้ออำนวย และที่จอดรถก็หายาก แต่สำหรับตรอกซอกซอยเล็กๆ แล้ว การเดินเที่ยวก็สะดวกมากกว่าการเดินทางรูปแบบอื่น และกิจกรรมหลักที่ได้รับความสนใจ หนีไม่พ้นการสำรวจย่านชุมชน เส้นทางอาหารท้องถิ่น และเส้นทางถ่ายรูป

เดินเที่ยวโดยมีไกด์นำเที่ยวเส้นทางที่ได้รับความนิยมในบ้านเรา เช่น ย่านเกาะรัตนโกสินทร์ บางรัก พาหุรัด เยาวราช ฯลฯ ขณะที่ต่างประเทศการเดินเที่ยวด้วยเท้า วิธีนี้ก็ได้รับความนิยมสุดๆ ในเมืองท่องเที่ยวของยุโรป เช่น เอดินเบอระ (Edinburgh) อังกฤษ เวียนนา ออสเตรเลีย ทรอยส์ริเวียร์ (Trois-Rivières) แคนาคา อเมริกาเหนือ หรือแม้แต่ในเอเชียอย่างเวียงจันท์ สปป. ลาว หรือย่านแทกู (Daegu) เกาหลีใต้

เดินด้วยดีไวซ์…สนไหม?

เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ‘กลุ่มปั้นเมือง’ ผู้จัดทำโครงการย่านน่าเดิน เขตสัมพันธวงศ์ ซึ่งคลุกคลีอยู่กับการทำงานร่วมกับชุมชนมายาวนานกว่า 10 ปี พยายามชักชวนคนในย่านมาช่วยกันเปลี่ยนแปลง และพัฒนาชุมชน รวมไปถึงพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาชุมชน ที่ใช้กระบวนการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างพี่น้องในชุมชน เน้นสำรวจความคิดเห็น และให้คนในชุมชนลงมือทำเพื่อ ‘บ้าน’ ของตัวเองในหลากหลายวิธี

ก่อนหน้ามีการผลิตสื่อ ทั้งทำแผนที่ วารสาร เนื่องจากพบว่าปัญหาของคนส่วนใหญ่ คือ ไม่รู้จักไชน่าทาว์น ไม่ทราบว่าต้องเดินไปทางไหน ไม่ทราบชื่อสถานที่ ไม่รู้ว่าเรื่องราวของเทศกาล หรือประเพณีต่างๆ จึงมักเดินหลงทางเพราะส่วนใหญ่บริเวณดังกล่าวเป็นตรอก ซอก ซอยเล็กๆ ด้วยเหตุนี้ จึงเลี่ยงการเดินไปใช้รถสาธารณะแทน ชุมชนและย่านนั้นๆ จึงขาดโอกาสในการถ่ายทอด และส่งต่อมรดกวัฒนธรรม ซึ่งไม่ได้รับการเผยแพร่อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม หลังจากรวบรวมข้อมูลได้มากกว่า48 จุด จึงได้เกิดแนวคิดในการทำเว็บแอปพลิเคชัน ‘เดินไชน่าทาวน์’ ขึ้นมาในที่สุด

สสส. และกลุ่มปั้นเมือง กับโครงการน่าเดิน

‘เดินไชน่าทาว์น’ คืออะไร?

การเปิดตัวเว็บแอปพลิเคชัน ‘เดินไชน่าทาวน์’ (walk.in.th) โดย สสส.และกลุ่มปั้นเมือง ภายใต้แนวคิด ‘สารานุกรมชุมชน’ สืบเนื่องมาจากข้อมูล (Data) คือสิ่งที่มีความสำคัญในยุคปัจจุบัน โดยชุมชนมีส่วนเป็นเจ้าของและสามารถบริหารจัดการข้อมูลได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังสามารถเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ๆ ของย่าน รวมถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่เพิ่งค้นพบในสารานุกรมออนไลน์ฉบับนี้ได้อย่างอิสระ

ความดีงามก็คือนอกจากช่วยจัดการข้อมูลด้านความรู้และประวัติศาสตร์ของชุมชนแล้ว ฟังก์ชั่นสำคัญคือ เป็นระบบพาเดินเที่ยวที่ใช้งานผ่านเว็บไซต์ สามารถเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานไว้ได้เหมือนแอปพลิเคชันทั่วไป ทำหน้าที่เป็นระบบนำทางช่วยเหลือด้านการเดินท่องเที่ยว (Town Guide) ซึ่งรวบรวม 10 เส้นทางน่าเดินใน ‘ไชน่าทาวน์’ เช่น ตรอก 200 ปีตลาดน้อย ทอดน่องท่องริมน้ำย่านจีน เดินชมสถาปัตยกรรม ที่แทรกตัวอยู่ในชุมชน เส้นทางตามรอยร้านอร่อยมากกว่า 48 จุด โดยเส้นทางเหล่านี้ ถูกเล่าผ่านมุมมองเจ้าบ้านอย่างชุมชน เรียกได้ว่าเป็นไกด์นำเที่ยวส่วนตัวให้เลย

นอกจากนี้ ยังสามารถเก็บบันทึกข้อมูลการใช้งานของเราได้อีก ด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ อาทิ พาสปอร์ตเส้นทางของฉัน ไปไหนกันดี และฟังก์ชั่นกระเป๋าเงินที่สามารถทำธุรกรรมโดยการโอน เติม จ่ายและใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานขณะเดินเที่ยวและช็อปปิ้งอีกด้วย

ซึ่งเวลานี้นำร่องการใช้งานในระบบภาษาไทยและอยู่ระหว่างการพัฒนาข้อมูลด้านภาษาเพิ่มเติม ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีนเพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวในอนาคตหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย

แอบส่องของชาวบ้าน…

ลองออกนอกประเทศไปมองชะเง้อประเทศใกล้ๆ บ้าง อย่างเมืองไทเปของไต้หวัน ก็มีแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า ‘Taipei Map and Walks’ เดาว่าถูกชะตาสุดๆ กับคนที่ชอบท่องเที่ยวด้วยการเดิน เพราะทำให้การเดินเที่ยวในไทเปสะดวกสบายยิ่งขึ้น ด้วยแผนที่เมืองไทเปที่ละเอียดยิบ ใช้งานง่าย และมีข้อมูลที่สมบูรณ์ในการสำรวจเมือง รวมทั้งสามารถค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ อาทิ พิพิธภัณฑ์ไทเป หอศิลป์ แหล่งช้อปปิ้งของที่ระลึก ตลาดกลางคืน ร้านอาหารคาวหวาน แถมไม่ต้องใช้อินเตอร์เน็ตในการใช้งาน

museum in Taipei

คลองชองเกชอน เกาหลี

ส่วนฟากเกาหลีใต้ มี ‘Seoul Walking Tour’ แอปพลิเคชันเดินเที่ยวกรุงโซล ที่แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวกว่า 16 เส้นทางในย่านใจกลางเมือง อาทิ ชองเกชอน จองโน ควางฮวามุน สะดวกสบายด้วย 3 ภาษา คือ อังกฤษ ญี่ปุ่น จีน โดยระบบยังติดตั้ง GPS เพื่อค้นหาสถานที่ท่องเที่ยว และดูข้อมูลได้โดยไม่ต้องใช้ Wifi เพียงแค่กดดาวน์โหลดเนื้อหาเก็บไว้ ในขณะที่สิงคโปร์ นักเดินเท้าสามารถเข้าไปดูข้อมูลเดินเที่ยวสิงคโปร์ได้ใน ‘Visitsingapore’ เลือกจิ้มไปที่ Walking-tour ข้อมูลทุกอย่างจะขึ้นมาทันที

เรียกได้ว่านี่คือ…ตัวช่วยและทำให้ความสนุกของการเดินเท้าสนุกขึ้นมาอีกขั้น

Tags: