About
ART+CULTURE

Let’s Have A Fika

Let’s Have A Fika วัฒนธรรมกาแฟแบบสวีดิช

เรื่อง วิชชุ ชาญณรงค์ ภาพประกอบ ANMOM Date 24-08-2021 | View 3336
Beingthere Detour Be myguest FLAVOR Resound art+culture Insights Trends Business Insiders Balance Craftyard News
Read At ONCE
  • นอกจากสัญลักษณ์บ้านสีแดงที่อยู่ท่ามกลางหิมะสีขาวโพลนในสวีเดน กาแฟหรือ ‘Fika’ ยังเป็นสิ่งที่ชาวสวีเดนให้ความสำคัญ และหลอมรวมอยู่ในการดำเนินชีวิต
  • รู้หรือไม่ ชาวสวีเดนเป็นชาติที่ดื่มกาแฟติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก และไม่ใช่แค่ดื่มกาแฟเพื่อปลุกให้ตื่นยามเช้าเท่านั้น แต่มันคือกิจกรรมเข้าสังคมอย่างหนึ่งที่เป็น Good Vibes และได้รีแลกซ์
  • สวีเดน เป็นชาติอันดับต้นๆ ที่คนรุ่นใหม่ปักหมุดอยากไปเที่ยว และต้องยอมรับว่า Swedish Model เป็นโมเดลที่สร้างความมั่นคงให้กับประชากร จนได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

พูดถึงกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย ไม่แปลกนัก…หากสวีเดนจะถูกนับให้เป็นหนึ่งในประเทศครองใจนักเดินทาง

หลายคนอาจรู้จักผ่านทิวทัศน์อันงดงามของหมู่เกาะสตอกโฮล์มอันเลื่องชื่อ รวมถึงภาพซึ่งถูกถ่ายทอดออกมาให้เห็นเมืองเล็กๆ กับบ้านสีแดงที่ความเหงาโจมตีท่ามกลางหิมะกองพะเนิน ดินแดนซี่งเต็มไปด้วยเสน่ห์อันแตกต่างด้านการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์

F 1

ขณะเดียวกันชาวสวีดิชยังเต็มไปด้วยเรื่องราวทางวัฒนธรรมอันลุ่มลึกครองใจผู้คน สะท้อนให้เห็นผ่านงานศิลปะ งานออกแบบ การดีไซน์สินค้า ฯลฯ ด้วยเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ต่างหลอมรวมอยู่ในการดำเนินชีวิต

นอกจากนี้สิ่งที่สนใจอีกอย่างคือ ชาวสวีเดนจำนวนมากให้ความสำคัญกับกาแฟเป็นอย่างมาก ข้อมูลจากหนังสือ Lagom : The Swedish Art of Balanced ระบุว่า ชาวสวีเดนกินกาแฟติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก พวกเขาให้ความสำคัญกับวิถีกาแฟเป็นอย่างมากจนนำมาสู่ปรัชญาที่รู้จักกันดีอย่าง ‘Fika’ ออกเสียงว่า เฟ-ก้า หรือ ฟะเยก้ะ

F 3

Fika ในภาษาสวีดิชนั้นทำหน้าที่เป็นทั้งคำกริยา (Verb) และคำนาม (Noun) มาจากการสลับพยางค์ คำว่า Kaffi หรือ Kaffe ที่แปลว่า กาแฟ อีกทั้งคำว่า Fik ยังเป็นภาษาพูดที่แปลว่า คาเฟ่ได้อีกด้วย

F 6

 

หัวใจสำคัญของ Fika นั้น มีความหมายมากกว่าแค่การดื่มกาแฟเพื่อปลุกให้ตื่น แต่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมเข้าสังคมหรือเป็นต้นแบบของชีวิตสโลว์ไลฟ์ที่แท้จริง เสมือนรางวัลสำหรับวัฒนธรรมที่ใส่ใจกับการรับประทานอาหารอย่างสมดุลและดีต่อสุขภาพ เป็นการใช้เวลาให้ช้าลง อยู่กับปัจจุบัน ตัดสิ่งรบกวนภายนอกออกไปแล้วทิ้งเวลาไปกับการละเลียดรสนุ่มลึกกับชากาแฟหรือขนมอบชิ้นโปรด อย่างขนมปังนุ่มสีน้ำตาลเหลืองที่เรียกว่า Cinnamon bun ชาวสวีดิชเรียกว่า fikabröd (fika bread) ที่มีกลิ่นหอมกรุ่นไปด้วยอบเชยและผงกระวานนิดๆว่ากันว่า สิ่งนี้เป็นขนมบ่งบอกความเป็น Fika ได้มากที่สุด

F 4

วัฒนธรรม Fika ยังใช้เป็นข้ออ้างในการนัดเจอเพื่อนฝูง หรือใช้เวลาด้วยกันสักชั่วโมงในร้านกาแฟ พลางอัพเดตข่าวสารพลาง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการสังสรรค์กับเพื่อนมากกว่า บางสำนักงานมีการจัดห้องพักที่เรียกว่า ‘fika room’ สำหรับช่วงเวลา Fika ของชาวออฟฟิศ ซี่งส่วนใหญ่มี 2 ช่วงเวลา ราวๆ 10.00  น.และเวลาช่วงบ่ายราวๆ 14.00 น. เพื่อให้พนักงานได้มีเวลารวมกลุ่มกันพักดื่มกาแฟในช่วงสายหรือบ่ายๆ ระหว่างวัน

F 5

บ้างก็บอกว่าไม่มีรูปแบบตายตัวว่าจะทำที่บ้าน ในร้านกาแฟ หรือที่ทำงาน แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการละเลียดเวลาอย่างมีคุณภาพ ให้ความรู้สึก Good Vibes และแฝงไปด้วยนัยยะแห่งการดื่มด่ำ รีแลกซ์ ปล่อยอารมณ์

แต่ก็นะ…อารมณ์สวีเดนดูแล้วช่างสบายน่าอิจฉา

สวีเดน ขึ้นแท่นเป็นอันดับต้นๆ เสมอกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อยากมีช่วงเวลาดีๆ ได้ไปเยือนสักครั้ง เป็นเวลาหลายปีติดต่อกันแล้วที่ World Economic Forum ยกย่องให้สวีเดนเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยสูตรสำเร็จหลายด้าน ผู้คนมีคุณภาพชีวิตชวนอิจฉา กับ Swedish Model สร้างความมั่นคงให้ประชากรจนได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีรัฐสวัสดิการที่ยอดเยี่ยม พร้อมด้วยนวัตกรรมอันโดดเด่น มีอัตราการคอรัปชั่นที่ต่ำมาก ติดอันดับประเทศที่มีคนอยากทำธุรกิจมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก อีกทั้งยังมีหนังสือเดินทางที่ทรงพลังสามารถเข้าไปยังประเทศต่างๆ ได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องขอวีซ่า แถมยังมีเรื่องราวของวิถีชีวิตผู้คนซึ่งเป็นมิตรต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly) และได้รับการจัดลำดับให้เป็นประเทศที่มีความสุขลำดับต้นๆ ของโลก

F 7

ว่าแล้ว…อยากลอง Fika บ้างจัง…

Work From Home อึนๆ กันมาหลายเดือนแล้ว ลองมาจัด Fika ยามบ่ายกันสักครั้งดีไหม?


อ้างอิง
https://www.weforum.org/agenda/archive/sweden/
https://www.thekitchn.com/coffee-around-the-world-how-swedes-drink-coffee-204916
https://www.telegraph.co.uk/travel/maps-and-graphics/countries-that-drink-the-most-coffee/
https://www.myscandinavianhome.com/p/books.html
https://www.longtunman.com

Tags: