About
FLAVOR

Rising Lanna Rice

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มช. ยกระดับภาคเหนือสู่แหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

เรื่อง วีณา บารมี ภาพ กรินทร์ มงคลพันธ์ Date 31-12-2022 | View 6172
Beingthere Detour Be myguest FLAVOR Resound art+culture Insights Trends Business Insiders Balance Craftyard News
Read At ONCE
  • ชวนไปรู้จักกับข้าวพื้นเมืองพันธุ์พิเศษ ที่ได้พัฒนาปรับปรุงมาจากข้าวพื้นเมืองของชนเผ่าบนพื้นที่สูง เป็นข้าวคุณภาพที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ผลงานวิจัยของศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ข้าวพื้นเมือง “คุณภาพพิเศษสูง” ทั้ง 10 ชนิดที่เป็นผลวิจัยของศูนย์วิจัยข้าวล้านนาฯ นอกจากจะใช้บริโภคเป็นอาหารแล้ว ยังแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้อีกมากมาย
  • ภาคเหนือมีจุดแข็งในเรื่องของสภาพแวดล้อม อุณหภูมิดี มีแสงแดด และดินอุดมสมบูรณ์ ทำให้สารสำคัญพิเศษที่มีในข้าวที่ปลูกยิ่งสูงมากขึ้น

ข้าวไทย ไม่ได้มีแค่ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวขาว ข้าวหอมมะลิ และข้าวกล้อง แต่ยังมีข้าวอีกมากมายหลายสายพันธุ์ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค

ในปี 2565 (เดือน ม.ค.-ส.ค.) ประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากอินเดีย คิดเป็นปริมาณการส่งออก 4.75 ล้านตัน (อ้างอิงข้อมูลจากกรมศุลกากรและใบอนุญาตส่งออกข้าว) โดยภาคกลางถือเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดสุพรรณบุรี นครสวรรค์ และอยุธยา

ภาคเหนือ แม้จะไม่ใช่แหล่งเพาะปลูกข้าวขนาดใหญ่ที่สุด แต่กลับมีข้าวพันธุ์พื้นเมืองหรือข้าวท้องถิ่นล้านนา ที่มีความหลากหลายของสารอาหารอยู่ในเมล็ดข้าวสูง โดยเฉพาะข้าวของชาวพื้นเมืองหรือชนเผ่าที่เก็บไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษ และเรามักไม่ค่อยรู้จักกันมากในปัจจุบัน เพราะนิยมปลูกในพื้นที่เฉพาะถิ่นโดยเฉพาะบนพื้นที่สูง

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

และวันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับข้าวพื้นเมืองพันธุ์พิเศษอีกชนิดหนึ่ง จากผลงานวิจัยของ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่พัฒนาปรับปรุงมาจากฐานพันธุกรรมข้าวพื้นเมืองของชนเผ่าบนพื้นที่สูงในพื้นที่ต่างๆ ในภาคเหนือ จนได้ข้าวสายพันธุ์บริสุทธิ์ใหม่ 10 สายพันธุ์ ที่มี “คุณภาพพิเศษสูง” ซึ่งไม่เพียงแต่ใช้บริโภคเป็นอาหารเท่านั้น แต่ด้วยคุณสมบัติพิเศษของคุณค่าทางโภชนาการชนิดต่างๆ ยังทำให้ข้าวสายพันธุ์ดังกล่าวสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้อีกหลากหลายชนิด ที่สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวไทย และยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

จากข้าวดอย สู่ข้าวพื้นราบ

“ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ แต่ที่ผ่านมาเราอาจได้ยินปัญหาข้าวราคาตกต่ำ นั่นเป็นเพราะข้าวเป็นพืชที่ปลูกกันเป็นพื้นที่กว้างและให้ผลผลิตพร้อมๆ กันทั่วประเทศเมื่อถึงฤดูกาลในการเก็บเกี่ยว และเมื่อเทียบกับต้นทุนการทำนาของเกษตรกรที่มีเป็นจำนวนมาก ทั้งค่าแรง ค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์ จึงไม่ค่อยคุ้มทุน

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

รศ.ดร.ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

“ด้วยเหตุนี้เอง เกษตรกรจึงไม่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้จากการปลูกข้าวตามวิถีชีวิตแบบเดิมที่เคยทำกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนที่เป็นอยู่ได้” รศ.ดร.ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล่าถึงปัญหาของเกษตรกรไทย ก่อนจะมีการจัดตั้งศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ.2557

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

“ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ โดยทำวิจัยเรื่องข้าวในด้านต่างๆ เพื่อนำองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมาเป็นทางเลือกในการลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าข้าวให้สูงขึ้น ซึ่งการเพิ่มมูลค่าข้าวให้สูงขึ้นนั้น ถ้าใช้ข้าวธรรมดาก็จะประสบปัญหาเหมือนกับที่ผ่านมา เราจึงใช้ข้าวพื้นเมืองท้องถิ่นของภาคเหนือ โดยเฉพาะข้าวของชนเผ่าต่างๆ ที่เก็บรักษาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษ และไม่ค่อยพบบนพื้นราบที่พันธุ์ข้าวท้องถิ่นถูกแทนที่ด้วยข้าวสมัยใหม่ ที่ให้ผลผลิตต่อพื้นที่มากกว่า ทำให้ปัจจุบันข้าวพื้นเมืองค่อยๆ หายไปหรือแทบจะไม่พบบนพื้นที่ราบเลย”

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

ข้าวพื้นเมืองคุณภาพพิเศษสูง

ภารกิจงานวิจัยข้าวเริ่มต้นตั้งแต่การเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองจากพื้นที่ต่างๆ โดยช่วงแรกทีมนักวิจัยเข้าไปยังพื้นที่สูงใน 3 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน จากนั้นได้รวบรวมตัวอย่างข้าวแต่ละพื้นที่ และนำมาจำแนกลักษณะที่โดดเด่นหรือคุณสมบัติพิเศษที่มีอยู่ในเมล็ดข้าวแต่ละตัวอย่าง และคัดแยกข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่สุด เช่น แอนโทไซยานิน แกมมาออไรซานอล ฟีนอล วิตามินอี ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี และข้าวที่มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูง โดยคัดเลือกต่อเนื่องจนได้ข้าวที่เป็น “สายพันธุ์บริสุทธิ์” และมีคุณค่าทางโภชนาการของแต่ละสายพันธุ์

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

จากนั้น จึงนำไปศึกษา และพัฒนากระบวนการผลิตที่แม่นยำต่อ เพื่อให้ได้ข้าวที่มีเสถียรภาพในการรักษาคุณสมบัติทางโภชนาการสูงหรือมีคุณสมบัติพิเศษ และหลังจากนั้นจะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวพันธุ์พื้นเมือง เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ เครื่องดื่ม ยา และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

เทรนด์รักสุขภาพมาแรง

“เทรนด์ของผู้บริโภคไม่ใช่แค่กินอิ่มอีกแล้ว แต่เขาต้องการข้าวที่ดีต่อสุขภาพ เช่น มีธาตุอาหารสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งตอนนี้พันธุ์ข้าวที่เราคัดเลือกมีทั้งหมด 10 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ บางสายพันธุ์ที่ยังขาดบางลักษณะ ที่เป็นที่ต้องการของเกษตรกรและผู้บริโภค เราก็เอามาปรับปรุงผสมกับพันธุ์ที่มีลักษณะที่เราต้องการ ทำให้พันธุ์ข้าวต่างๆ ที่เราปรับปรุงวิจัยมีลักษณะโดดเด่น และเป็นที่ต้องการของเกษตรกรและผู้บริโภค จากนั้นจะนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่เชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย เพื่อทดสอบการตอบสนองของพันธุ์ข้าวในแต่ละพื้นที่”

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

สำหรับพันธุ์ข้าวที่ขายดีของทางศูนย์วิจัยข้าวฯ ได้แก่ ข้าวก่ำเจ้า มช.107 เป็นข้าวก่ำล้านนาเมล็ดสีดำสนิท พัฒนาพันธุ์มาจากข้าวเหนียวก่ำมาเป็นข้าวเจ้าก่ำ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และพบว่าข้าวสายพันธุ์นี้สามารถยับยั้งการเกิดมะเร็งบางชนิดได้ นอกจากนี้ ศูนย์ฯ ยังมีข้าวพันธุ์อื่นๆ ที่เป็นที่ชื่นชอบของเกษตรกร และผู้บริโภค คือพันธุ์บือบ้าง 3 มช. เป็นพันธุ์ข้าวเจ้าไม่มีสี ปรับปรุงมาจากข้าวพันธุ์พื้นเมืองของชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวิตามินอีสูงมาก เมื่อหุงสุกแล้วมีเนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม มีรสชาติอร่อย จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นต้น

จุดเด่นของภาคเหนือ

แปลงนาสาธิตบริเวณหน้าศูนย์วิจัยข้าวฯ แห่งนี้ นาข้าวกำลังสวยงามและออกรวงเป็นสีม่วงสลับเขียว ว่ากันว่า ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการถ่ายรูปนาข้าว คือต้นฤดูหนาว ก่อนที่จะถูกเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงปลายปี

“ภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูงที่ดีแห่งหนึ่ง เนื่องจากจัดการง่ายเพราะแปลงไม่ได้ใหญ่มาก เกษตรกรแต่ละรายมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 20-25 ไร่ ขณะที่เกษตรกรภาคกลางมีพื้นที่ปลูกในแปลงขนาดใหญ่กว่า คือ ประมาณ 80 ไร่ สองคือสภาพแวดล้อมดี อุณหภูมิ แสง และดินอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้สารสำคัญพิเศษที่อยู่ในข้าวยิ่งสูง

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

“แต่ถ้าเปลี่ยนพื้นที่ปลูกเป็นที่อื่น ก็จะไม่ได้ข้าวเหมือนกับที่ปลูกในภาคเหนือ อาจได้ข้าวที่คุณสมบัติต่างกันออกไป ซึ่งก่อนหน้านี้ เราส่งไปทดลองปลูกพื้นที่ต่างๆ ประมาณ 100 ที่ ซึ่งหลังจากนี้จะเก็บผลผลิตมาดูกันว่า เมล็ดข้าวที่ได้ มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร แล้วเอามาวิเคราะห์ดูว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ควบคุมคุณสมบัติพิเศษต่างๆ ในเมล็ดข้าวบ้าง เช่น สภาพอากาศ แสง ความอุดมสมบูรณ์ของดินหรือวิธีการปลูกของเกษตรกรเอง” ผอ.ศูนย์วิจัยข้าวฯ อธิบาย

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

นอกจากนี้ ไม่เพียงแค่การส่งเสริมการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณภาพสูงให้กับเกษตรกรเท่านั้น ศูนย์วิจัยข้าวฯ ยังเป็นตัวกลางที่เชื่อมโยงให้เกษตรกรและผู้ประกอบได้มาเจอกัน ช่วยเพิ่มโอกาสและทางเลือกให้เกษตรกรมีแหล่งรับซื้อข้าว ส่วนผู้ประกอบการก็สามารถบอกถึงคุณสมบัติของข้าวที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

ทุกส่วนของข้าวมีคุณค่า

สำหรับวัสดุที่เหลือจากการปลูกข้าว ทางศูนย์วิจัยข้าวฯ ยังส่งเสริมให้นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกร และยังช่วยลดขยะจากการปลูกข้าวให้เป็น Zero Waste ลดปัญหาการเผาที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวเพื่อเตรียมแปลงปลูกฤดูกาลถัดไป

“เราเน้นการใช้ข้าวทุกส่วนไปใช้ประโยชน์ ทั้งฟางข้าว รำข้าว และปลายข้าว เพราะต้องการจัดการสิ่งเหลือใช้ทั้งหมดให้เป็น Zero Waste สอดคล้องกับเทรนด์ของ BCG  (Bio-Circular-Green Economy) และเรามีนักวิจัยที่เก่งมากในมหาวิทยาลัย มาช่วยพัฒนาฟางข้าวไปทำเป็นวัสดุทดแทน เช่น ทำกระดาษ ทำภาชนะบรรจุภัณฑ์ และวัสดุก่อสร้างในรูปแบบต่างๆ ซึ่งตอนนี้มีตลาดค่อนข้างกว้าง ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น แทนที่จะรอรายได้จากการขายข้าวเพียงอย่างเดียว”

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

แว่วๆ มาว่าในอนาคตทางศูนย์วิจัยข้าวฯ จะก่อตั้งโรงเยื่อฟางข้าวเพื่อให้เป็นโรงงานต้นแบบสำหรับเกษตรและผู้ประกอบการเข้ามาศึกษาดูงาน รวมทั้งเป็นแหล่งรับซื้อฟางข้าวจากเกษตรกร เพื่อลดการเผาฟางข้าวที่จะส่งผลกระทบต่อมลพิษทางอากาศ

“ปกติเกษตรกรขายฟางข้าวได้ราคาไร่ละ 150-200 บาท แต่ถ้ามีโรงงานนี้ขึ้นมาจะสามารถแปรรูปเป็นฟางข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นได้ถึง 7,000-8,000 บาทเลยทีเดียว” ดร.ชนากานต์ เล่าถึงจุดหมายอันใกล้

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

“เราพยายามนำเสนอทางเลือกเพื่อเปลี่ยนวิถีที่เกษตรกรเคยชิน ซึ่งมักจะเจอกับปัญหาเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวราคาตกต่ำ การรอประกันราคา หรือปัญหาหนี้สะสม ที่พอถึงท้ายที่สุดแล้ว เกษตรกรก็ต้องขายที่นาเพื่อเอาไปใช้หนี้ ผลเสียตามมาคือไม่มีที่ดินทำกิน และต้องไปเช่าที่ในการประกอบอาชีพทำนา ทำให้ต้นทุนทำนาสูงขึ้นมาอีก แต่ถ้ามีทางเลือกแบบครบวงจร ตั้งแต่การบริหารจัดการ เน้นการปลูกข้าวทางเลือกวิถีใหม่ ที่ไม่เหมือนกับคนอื่น อาจจะเจาะกลุ่มตลาดเล็กๆ แต่ได้มูลค่ามากกว่า เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องไปกู้เงินมา เพื่อใช้เป็นต้นทุนทำนาในฤดูถัดไป

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

“แม้ว่าเราอาจจะไม่ได้ช่วยเกษตรกรทั้งประเทศ แต่อย่างน้อยเราจะนำแนวทางวิถีใหม่มาเป็นทางเลือกให้เห็นว่า โมเดลแบบนี้สามารถช่วยเกษตรกรในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ได้จริง ทำให้เขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้เพิ่ม ซึ่งเราเชื่อว่ามันจะค่อยๆ ขยายวงกว้างออกไปสู่เกษตรกรรายอื่นๆ ได้เอง” ผอ.ศูนย์วิจัยข้าว ทิ้งท้าย

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

เจาะลึก ‘ข้าวพื้นเมือง’ กับ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง

10 สายพันธุ์ข้าวบริสุทธิ์ ผลงานวิจัยของศูนย์วิจัยข้าวล้านนาฯ

• ข้าวก่ำเจ้า มช. 107 เป็นข้าวเจ้า เมล็ดสีดำ มีสารแกมมาออไรซานอลสูง ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิด หัวใจ และเบาหวาน
• ข้าวก่ำดอยสะเก็ด เป็นพันธุ์ข้าวเหนียว เมล็ดสีดำ ที่นิยมรับประทานและปลูกประดับตามร้านอาหารมากที่สุด มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าข้าวขาวทั่วไป 2-3 เท่า พบสารโปรแอนโทไซยานิติน สารแอนโทไซยานิน และแกมม่าออไรซานอล
• ข้าวปิอิซู 1 มช. เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวสีดำที่ปรับปรุงมาจากพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของชนเผ่ากะเหรี่ยง มีสารแอนโทไซยานินสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคมะเร็งตับบางชนิด และป้องกันแสงยูวี
• ข้าวก่ำหอม มช. เป็นข้าวเหนียวดอยสีดำ ที่มีความพิเศษตรงที่ มีปริมาณธาตุเหล็ก สังกะสี และแอนโทไซยานินสูง
• ข้าวก่ำอาข่า 1 มช. ข้าวเหนียวดอยสีดำ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
• ข้าวบือบ้าง 3 มช.เป็นพันธุ์ข้าวเจ้าที่ปรับปรุงมาจากข้าวพันธุ์พื้นเมืองของชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยได้รับคัดเลือกว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีวิตามินอีสูง เหมาะกับการบริโภคเพื่อดูแลผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องการต้านสารอนุมูลอิสระ และช่วยป้องกันปัญหาผมร่วงได้อีกด้วย
• ข้าวบือบ้าง 4 มช.เป็นข้าวขาวที่มีธาตุสังกะสีสูง เหมาะสำหรับเพศชายในการเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ เพิ่มความแข็งแรงของอสุจิ สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการมีบุตรยาก
• ข้าวแสง 5 มช. เป็นข้าวเหนียวก่ำ ที่มีปริมาณสารฟีนอลสูงมาก
• ข้าวเบี่ยนกู๋ 5 มช. มีธาตุเหล็กสูง
• ข้าวหย่ามือแชเบี่ย 3 มช. เป็นข้าวเจ้า เมล็ดสีส้มมีแกมมาออไรซานอลสูง

Tags: