About
ART+CULTURE

ระหว่างแสงและเงา

ในโลกไม่สมบูรณ์แบบของ ‘เนียม มะวรคนอง’ ที่เห็นความพิเศษแสงเงามากกว่าคนอื่น

Beingthere Detour Be myguest FLAVOR Resound art+culture Insights Trends Business Insiders Balance Craftyard News
Read At ONCE
  • เนียม มะวรคนอง ศิลปินตาบอดสีผู้ไม่ย่อท้อต่อข้อกำจัดทางร่างกาย เขาอาศัยโปรแกรมเช็กสี ใช้การผสมสีและการจดจำ จนสามารถวาดรูปได้ดีและมีคาแรกเตอร์ชัดเจน
  • ถึงมองโลกของสีน้อยลง แต่เขากลับเห็นแสงได้มากกว่าคนอื่น สิ่งนี้เองที่ทำให้รูปวาดของเนียมสวยสมจริงและแตกต่างจากคนอื่น
  • เพราะศิลปะคือความสุข การวาดรูปสำหรับเขาเป็นเหมือนสิ่งที่บำบัดให้หายจากความเศร้า แม้ขายงานไม่ได้เป็นเวลาถึง 10 ปี แต่ก็ไม่เคยมีความคิดที่จะเลิกล้มการวาดรูปเลย

Anima…ไม่ได้ปรากฏต่อดวงตา แต่ปรากฏขึ้นกลางความรู้สึก

Anima คือนิทรรศการเดี่ยวครั้งที่ 7 ของ เนียม มะวรคนอง ที่ Joyman Gallery ...คำว่า Anima เนียมนิยามว่ามันคือภาวะไม่คุ้นเคย ไร้ความมั่นใจ เป็นความฉงนลึกๆ อยู่ในใจ โดยเขาสะท้อนถึงสิ่งเหล่านี้ผ่านภาพสัตว์ที่ซ่อนตามมุมต่างๆ ภายในบ้าน

เชื่อไหมว่า...ภาพวาดสัตว์น่าเอ็นดูจากนิทรรศการชุดนี้ สำหรับเนียมแล้วมันคือ ‘ผี’

“ผีในความคิดของเรามันก็คือสัตว์ เวลาเห็นบ้านโล่งๆ ผมชอบจินตนาการว่าสัตว์แบบไหนกันนะที่จะมาอยู่…ธรรมชาติของผมเวลาเห็นที่โล่ง มันมีความรู้สึกเกิดขึ้นเยอะมากๆ” เนียม - สุรชัย มะวรคนอง หรือ เนียม มะวรคนอง อธิบาย

ในโลกไม่สมบูรณ์แบบของ ‘เนียม มะวรคนอง’ ที่เห็นความพิเศษแสงเงามากกว่าคนอื่น

นิทรรศการ ‘Anima’ ที่จัดแสดงล่าสุดของเขา ได้แรงบันดาลใจมาจากตอนเริ่มหาซื้อบ้านจนถึงวาระที่ย้ายเข้าบ้านใหม่ ด้วยความเวิ้งว้างและไม่ชินกับสถานที่ ทำให้เกิดจินตนาการต่างๆ นานามากมาย

ในโลกไม่สมบูรณ์แบบของ ‘เนียม มะวรคนอง’ ที่เห็นความพิเศษแสงเงามากกว่าคนอื่น

ในภาพมักเห็นรูปสัตว์ที่มีลักษณะเป็นสีขาว เพราะศิลปินคนนี้รู้สึกว่าสัตว์สีขาวนั้นสื่อถึงผี ขณะเดียวกันสีขาวยังหมายถึงความบริสุทธิ์ หากลองสังเกตจะเห็นว่าตาของสัตว์เหล่านี้มักมองมาที่คนดูเพื่อต้องการสื่ออะไรบางอย่าง…แม้แสดงให้เห็นแววตาที่เต็มไปด้วยความสงสัย แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งท่าทางขี้เล่นไร้เดียงสาตามธรรมชาติ ทำให้คนดูเข้าถึงงานศิลปะได้โดยไม่ต้องตีความอะไรมากนัก

ในโลกไม่สมบูรณ์แบบของ ‘เนียม มะวรคนอง’ ที่เห็นความพิเศษแสงเงามากกว่าคนอื่น

เห็นสีน้อยลง แต่เห็นแสงมากกว่าคนอื่น

“พอเราตาบอดสีมันจะมีอย่างอื่นที่มาทดแทน…เราเห็นสีน้อยลงแต่ตาเราจะละเอียดกับแสงและเงามากกว่าคนอื่น มันเป็นธรรมชาติของเรามั้งครับที่เห็นความสวยในแสง เห็นความพิเศษในแสง คนที่มาดูงาน เขาบอกว่างานของเราใช้คู่สีไม่เหมือนคนอื่น มันดูมีบรรยากาศ”

ในโลกไม่สมบูรณ์แบบของ ‘เนียม มะวรคนอง’ ที่เห็นความพิเศษแสงเงามากกว่าคนอื่น

อย่างที่รู้กันดีว่า ความพิเศษที่กลายเป็นพรสวรรค์ของศิลปินคนนี้คือภาวะตาบอดสีที่เขาเผชิญมาตั้งแต่เด็ก และเหตุการณ์ที่ทำให้เขารู้ว่าตัวเองผิดปรกติเกิดขึ้นตอนวาดรูปส่งประกวด ซึ่งภาพวาดชิ้นนั้นสะท้อนว่าเขากำลังมองเห็นสีผิดแผกออกไปไม่เหมือนเด็กปรกติคนอื่นๆ

ในโลกไม่สมบูรณ์แบบของ ‘เนียม มะวรคนอง’ ที่เห็นความพิเศษแสงเงามากกว่าคนอื่น

“…มันเหมือนจอทีวีที่หลอดภาพเสียไปสีหนึ่ง สีเขียวกับสีน้ำตาลจะมองยาก เราจะมองเป็นสีเหลืองอมส้มๆ น้ำตาลๆ จนไม่แน่ใจว่าชีวิตนี้เราเคยเห็นสีเขียวจริงๆ หรือเปล่า” เนียมอธิบายระหว่างที่พาชมนิทรรศการ เขาบอกว่าสีน้ำเงินคือสีที่เขารู้สึกว่าเป็นมิตรที่สุด เพราะเป็นสีที่มองเห็นชัดที่สุด งานของเขาจึงมีโทนเป็นสีฟ้าเสียส่วนใหญ่

ในโลกไม่สมบูรณ์แบบของ ‘เนียม มะวรคนอง’ ที่เห็นความพิเศษแสงเงามากกว่าคนอื่น

จากผิดแผก สู่ ‘ความแตกต่าง’

เนียมยอมรับว่าในช่วงหนึ่งของชีวิต ศิลปะคือ ‘แผลเล็กๆ ในใจ’ อาจเพราะช่วงเวลานั้นเขายังไม่รู้วิธีสื่อสารให้สังคมเข้าใจ สังคมที่ตีความคำว่า ‘คุณค่า’ ไม่เหมือนกัน ในวันที่ความทุกข์ถาโถมจนเกือบทำให้เขาถอนตัวจากงานศิลปะ แต่แล้ววันหนึ่งศิลปินคนนี้ก็ฉุกคิดขึ้นได้ว่า

ความแตกต่างที่มีไม่ใช่ข้อด้อย ตรงกันข้ามมันสามารถกลายเป็นข้อเด่นในตัวที่ไม่เหมือนใครได้ เราสร้างคุณค่าจากความไม่สมบูรณ์แบบนั้นได้ มันจะซ้ำร้ายยิ่งกว่าหากเรายังคงเลือกจ่อมจมกับความทุกข์ในใจ ไม่ก้าวข้ามออกมา ก็คงไม่มีทางคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้เลย

ในโลกไม่สมบูรณ์แบบของ ‘เนียม มะวรคนอง’ ที่เห็นความพิเศษแสงเงามากกว่าคนอื่น

ระยะแรกๆ ตัวช่วยที่ดีที่สุดของเนียมเวลาวาดภาพคือโปรแกรมเช็กสีสำหรับคนตาบอดสี เวลาเพนท์ต้องผสมสีใส่กระปุกเอาไว้ และจำให้ได้ว่ากระปุกสีไหน เพนท์ตรงไหน ภาวะตาบอดสีเป็นความผิดปรกติก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะใช้สีไม่ได้ ในเมื่อเขายังวาดรูปได้ และรูปนั้นไม่จำเป็นต้องอาบอิ่มไปด้วยสีเหมือนภาพวาดอื่น

ในโลกไม่สมบูรณ์แบบของ ‘เนียม มะวรคนอง’ ที่เห็นความพิเศษแสงเงามากกว่าคนอื่น

“ถึงเราตาบอดสี เราก็วาดภาพขาวดำแนวโมโนโทนก็ได้ อาจารย์ถวัลย์แกใช้สีดำสีเดียวก็ยังเป็น Master ได้ การใช้สีสำหรับเราก็เหมือนเราหาเรื่องเอง มันเป็นความคันของเราก็ว่าได้ เราอยากใช้สี…เราอยากทำอะไรที่มีสีสัน”

บนเส้นทางศิลปิน

กว่าจะมาเป็นเนียมในวันนี้ ใช่ว่าเส้นทางชีวิตศิลปินของเขาจะราบรื่น เนียมขายผลงานตัวเองไม่ได้เลยยาวนานถึง 10 ปี ตอนเล่ามาถึงตรงนี้เขาพูดแบบกลั้วหัวเราะ แต่น้ำเสียงเขาเปลี่ยนไปเมื่อพูดถึงเพื่อนร่วมอาชีพที่มีจำนวนน้อยลงไปเรื่อยๆ

ในโลกไม่สมบูรณ์แบบของ ‘เนียม มะวรคนอง’ ที่เห็นความพิเศษแสงเงามากกว่าคนอื่น

“ก่อนมาทำอาชีพนี้จริงจัง ผมคิดถึงเรื่องเลวร้ายที่สุดในชีวิตไว้แล้ว…คิดไปถึงว่าถ้าขายงานไม่ได้ ต้องอยู่ห้องเช่าเก่าๆ วาดรูปในกระดาษใบเล็กๆ บั้นปลายชีวิตแบบนั้น เรารับได้ไหม…เราบอกว่าเรารับได้ ตกลง เอา! แต่พอตอนที่เริ่มขายงานได้เราแฮ็ปปี้มาก” เขายิ้ม

ในโลกไม่สมบูรณ์แบบของ ‘เนียม มะวรคนอง’ ที่เห็นความพิเศษแสงเงามากกว่าคนอื่น

เนียมบอกว่าเขาจะเอาความทุกข์ความไม่สบายใจมาละเลงเป็นภาพ ให้ศิลปะช่วยบำบัดความรู้สึก การวาดภาพมันจึงมีประโยชน์ แม้สุดท้ายจะขายไม่ได้ก็ตาม

ในโลกไม่สมบูรณ์แบบของ ‘เนียม มะวรคนอง’ ที่เห็นความพิเศษแสงเงามากกว่าคนอื่น

เขารู้สึกเหมือนให้รางวัลตัวเองทุกวันจากการวาดภาพ “เวลาคนทำงานเหนื่อยๆ เขาจะใช้เงินซื้อของขวัญให้ตัวเอง แต่พอเราวาดรูปมันเหมือนเราได้ของขวัญอยู่แล้ว”

ในโลกไม่สมบูรณ์แบบของ ‘เนียม มะวรคนอง’ ที่เห็นความพิเศษแสงเงามากกว่าคนอื่น

สำหรับเนียม ศิลปะคือเวทมนตร์…ไม่ว่าตอนสร้างสรรค์ผลงานหรือตอนดูงานศิลปะ เราควรทิ้งหลักของเหตุและผลไปบ้าง บางงานศิลปะที่สร้างสรรค์ด้วยหลักเหตุผลอย่างเต็มเปี่ยมแต่กลับดูไม่ค่อยมีชีวิต ดูแล้วไม่เกิดอารมณ์ร่วม ตรงกันข้ามหลายงานที่ไม่ได้ใช้เหตุผลเท่าไหร่ แต่มันอิมแพ็กกับทั้งตัวเขาและคนดูเกินคาด

ในโลกไม่สมบูรณ์แบบของ ‘เนียม มะวรคนอง’ ที่เห็นความพิเศษแสงเงามากกว่าคนอื่น

เราเชื่อว่าศิลปะคือเวทมนตร์น่าจะเป็นบทสรุปที่ดีที่สุดสำหรับเขา ชีวิตไม่จำเป็นต้องเห็นเหมือนคนอื่น ไม่จำเป็นต้องเป็นเหมือนคนอื่น ทุกคนต่างมีเวทมนตร์ของตัวเองเหมือนเช่นที่เขามี และกำลังใช้เวทมนตร์เสกให้คนรักศิลปะหัวใจพองฟูทุกครั้ง และคงเป็นความรู้สึกเดียวกันเวลาเรามองดู ‘Anima’ ผลงานชุดล่าสุดของผู้ชายคนนี้

นิทรรศการ Anima โดย เนียม มะวรคนอง @ Joyman Gallery (เข้าชมฟรี)
จัดถึงวันที่ 10 กรกฎาคม 2565
วิธีการเดินทางที่แนะนำ : ลง MRT สถานีสามยอด เดินย้อนขึ้น/ต่อรถมอเตอร์ไซค์/ต่อรถแท็กซี่ มาทางคุกเก่า-ถนนราชดำเนินประมาณ 600 เมตร
: เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวมีที่จอดรถรับรองด้านหลังแกลลอรี

Tags: