About
ART+CULTURE

Pixel People

I a Pixel, We the People ฟุตเทจหนังสั้น กองผ้าของจุฬญาณนนท์ที่เปรียบมนุษย์คือ ‘พิกเซล’ ในสังคม

Beingthere Detour Be myguest FLAVOR Resound art+culture Insights Trends Business Insiders Balance Craftyard News
Read At ONCE
  • จุฬญาณนนท์ ศิริผล กับงานล่าสุด “I a Pixel, We the People” ชวนย้อนมองว่าเราคือจุดเล็กๆ ของสังคม แค่เกิดการเปลี่ยนเพียงแค่จุดเดียว ก็ทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างได้เหมือนกัน

I a Pixel, We the People

I a Pixel, We the People

I a Pixel, We the People

เชื่อไหมว่าตัวเราที่จับต้องทางกายภาพได้ ขณะเดียวกันเราเองก็มีสถานภาพเป็นข้อมูลดิจิตัลโดยไม่รู้ตัว ถ้านึกไม่ออกอยากให้ลองมาเดินดู “I a Pixel, We the People” งานที่ทำให้ได้ย้อนมองว่าเราคือจุดเล็กๆ ของสังคมที่ถ้าแค่เกิดการเปลี่ยนเพียงแค่จุดเดียว ก็ทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างได้เหมือนกัน

สิ่งที่ดึงดูดเมื่อย่างก้าวเข้าไปดูงานนี้คือ “ไฟงานวัด” ที่เป็นตัวรีเซ็ตความรู้สึกเพื่อพาเราเข้าสู่โลกดิสโทเปีย และ “หอยสีทอง” กระจายตัวอยู่ทั่วนิทรรศการที่ถ้าใครไม่เคยดูงานของ ‘เข้-จุฬญาณนนท์ ศิริผล’ คงแอบสงสัยว่า ทำไมในงานนี้ต้องมีหอยสีทองอยู่เต็มไปหมด เราเลยอยากหยิบแนวคิดจากบทสนทนาที่ ONCE ได้ยืนคุยกับเข้มาเล่าให้ฟัง

I a Pixel, We the People

I a Pixel, We the People

หอยสีทองที่เกิดขึ้นใน I a Pixel, We the People คือตัวแทนของเข้ที่อยากบอกเล่าว่า ชีวิตเข้ที่ต้องแบกภาระอะไรบางอย่างอยู่บนตัวตลอดเวลา นอกจากจะแบกรับตัวตนของตัวเอง แบกรับเรื่องราวในครอบครัว และยังต้องแบกรับสถานการณ์ทางการเมืองด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่เฉพาะกับเข้ เพราะทุกชีวิตย่อมต้องต่อสู้และแบกรับภาระอยู่บนหลังตลอดเวลาเช่นเดียวกันกับหอยสีทองตัวนี้

I a Pixel, We the People

I a Pixel, We the People

แล้วทำไมต้องเป็นหอยสีทองด้วย เป็นเต่าไม่ได้เหรอ เพราะเต่าก็ต้องแบกกระดองเหมือนกัน ?

ต้องบอกว่าก่อนหน้านี้เข้มีผลงาน ‘Birth of Golden Snail’ หรือ ‘กำเนิดหอยทากทอง’ หนังสั้นแฟนตาซีที่เล่าเรื่องราวของเด็กผู้ชายที่ออกจากหอย (คล้ายกับสังข์ทอง) แล้วต้องแบกรับภาระต่างๆ ของชีวิต ซึ่งคาแรกเตอร์หอยของเข้ได้รับอิทธิพลจากเรื่องราวในยุคอาณานิคมญี่ปุ่น ที่ถ้าย้อนมองไปในช่วงสงครามโลก เสบียงอาหารของญี่ปุ่นคือหอย ‘Giant African snail’ ซึ่งเป็นต้นตอหนึ่งที่ทำให้มีหอยชนิดนี้ขยายพันธุ์อยู่ทั่วภูมิภาคเอเชีย หอยทากยักษ์จึงเป็นเศษซากหนึ่งจากสงครามโลกที่หลงเหลืออยู่ในประเทศไทย แต่ทำไมต้องเป็นหอยสีทองด้วย? เข้แทนสีทองเพื่อสื่อถึงอิทธิพลญี่ปุ่นในยุคนั้น โดยเชื่อมกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทยที่ว่ากันว่า ทหารญี่ปุ่นมักมาซ่อนทองไว้ในถ้ำเขาขนาบน้ำ จังหวัดกระบี่ ทองจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลงเหลือจากอาณานิคมญี่ปุ่นในประเทศไทยนั่นเอง

I a Pixel, We the People

ศิลปะจัดวางที่เกิดขึ้นใน I a Pixel, We the People ถ้ำขนาบน้ำ จ.กระบี่จึงถูกแทนด้วยภูเขากองผ้าที่กระจายอยู่ทั่วห้องจัดแสดงงาน พร้อมกับหอยทากสีทองที่ไต่อยู่บนกองผ้าทุกกองซึ่งสื่อสารถึงการแบกรักภาระบางอย่างทั้งตนเอง ครอบครัว และสังคมนี้

การทับถมของกองผ้าที่ก่อตัวเป็นเขา ยังมีลักษณะเหมือนบังเกอร์ มีความเป็นหินงอกหินย้อย แต่ภายใต้การเปรียบเปรยถึงสิ่งเหล่านี้ เข้ก็อยากจะสื่อสารว่านี่คือพื้นที่อื่นที่พาเราหวนกลับไปมองการเคลื่อนไหวของสังคมโลก ที่ข้าวของซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในกองผ้าเหล่านี้ คือตัวแทนของข้อมูลขนาดใหญ่ที่กระจัดกระจายอยู่เต็มไปหมด และเป็นข้อมูลที่เราจับต้องได้เหมือนกับของในบ้านของเข้ที่ถูกจัดแสดงในงาน รวมถึงเป็นข้อมูลที่จับต้องไม่ได้เหมือนกับฟุตเทจความยาว 24 ชั่วโมงของเข้ที่ถูกเปิดในงานนี้ด้วย

I a Pixel, We the People

I a Pixel, We the People

I a Pixel, We the People

I a Pixel, We the People

I a Pixel, We the People

“ปัจจุบันทุกอย่างถูกเปลี่ยนจากสิ่งที่จับต้องได้ กลายเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ทุกอย่างกลายเป็นข้อมูล อย่างบางครั้งที่เราใช้งานแอปพลิเคชันบางอย่าง เราก็ต้องอนุญาตให้แอปเข้าถึงข้อมูลของเราได้ เราเลยมองว่า นี่คือการที่มนุษย์เราเปลี่ยนจาก physical body ไปเป็น Digital Body เนื้อหาหลักของงานนี้จึงเป็นคำว่า Pixel ที่เปรียบเสมือนเราแต่ละคนก็คือหนึ่งพิกเซลที่จะต้องเปลี่ยนตัวเอง หรือเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นข้อมูล และเมื่อรวมเข้าด้วยกันเยอะๆ ก็จะกลายเป็น Big Data ที่เราเข้าใจพฤติกรรมของคนจำนวนมากได้ หรือคาดเดาพฤติกรรมของสังคมว่ามันจะเดินทางไปสู่ทิศทางไหน” – เข้ จุฬญาณนนท์ ศิริผล

งาน I a Pixel, We the People จึงไม่ได้สะท้อนถึงแค่แรงกระเพื่อมจากเสียงเล็กๆ ที่มีต่อการเมือง แต่ยังพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่กลืนเข้ากับยุคดิจิตัลแทบจะสมบูรณ์โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้

I a Pixel, We the People

I a Pixel, We the People

I a Pixel, We the People

I a Pixel, We the People

I a Pixel, We the People

I a Pixel, We the People

I a Pixel, We the People

นอกจากเหล่ากองผ้า I a Pixel, We the People ยังนำเสนองานวิดีโอทั้งหมด 24 ตอน ที่สร้างจากฟุตเทจซึ่งเข้เก็บรักษาไว้มาตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งถูกนำมาร้อยเรียงให้เป็นเรื่องราวใหม่ที่นำเสนอทั้งเรื่องของเข้เอง เรื่องของชีวิต เรื่องราวทางสังคม รวมไปถึงการเคลื่อนไหวทางการเมือง แนะนำว่าหากอยากดูให้จบเรื่อง ต้องมาดูให้ครบทั้ง 6 สัปดาห์ เพราะในแต่ละสัปดาห์จะฉายวิดีโอชุด 1 ซีซัน แบ่งเป็นซีนซันละ 4 ตอน ฉะนั้นถ้าหากอยากดูให้ครบ 24 ตอนจบ อย่าลืมมาเก็บให้ครบทั้งหมด 6 ซีซันกันนะ

I a Pixel, We the People

I a Pixel, We the People

เข้าชมได้ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 26 เมษายน – วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน 2568 เวลา 13:00–18:00 (ปิดวันอาทิตย์ถึงวันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์)
BANGKOK CITYCITY GALLERY (ซอยสาทร 1 – สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลุมพินี ทางออก 2 – ลานจอดรถ 123 ปาร์กกิ้ง)

Tags: