About
ART+CULTURE

คู่กัน

KUU KA N ดูโอ อารต์ เอ็กซิบิชันของศิลปินเซรามิกกับนักจัดดอกไม้ที่ไม่ได้มีให้ดูกันได้บ่อย

เรื่อง นริสา ลี. ภาพ นรวีร์ ศรีมะโน Date 22-10-2023 | View 1735
Beingthere Detour Be myguest FLAVOR Resound art+culture Insights Trends Business Insiders Balance Craftyard News
Read At ONCE
  • พบกับดูโอ อาร์ต เอ็กซิบิชันของบัทม์ แก้วงอกกับนาโอมิ ไดมารู สองศิลปินที่เป็นทั้งคู่หูคู่ชีวิต ในนิทรรศการ KUU KA N (หรือ คู่กัน) ซึ่งไม่เพียงสะท้อนตัวตนชัดเจนของทั้งคู่เท่านั้น หากยังเป็นนิทรรศการที่มีมวลอารมณ์อบอุ่นให้เราเดินดูได้อย่างสบายใจในสเปซเล็กๆ ของแกลเลอรีย่านสาทร
เซรามิก

นาโอมิ ไดมารู และ บัทม์ แก้วงอก

1.

บัทม์ แก้วงอก กับนาโอมิ ไดมารู ใช้ชีวิตคู่กันมาเกือบยี่สิบปีแล้ว ตอนนี้ทั้งคู่มีนิทรรศการที่อยากเล่าความรู้สึกนึกคิด ตัวตน ผ่านชิ้นงานเซรามิก การจัดดอกไม้ งานจิตรกรรม ภาพพิมพ์ ในชื่อว่า “KUU KA N” ดูโอ อาร์ต เอ็กซิบิชันที่บัทม์บอกว่าคงไม่ได้มีให้ดูกันได้บ่อยนัก ถ้าใครพลาดครั้งนี้ แล้วอยากดูตอนต่อไปในครั้งหน้า…บัทม์บอกว่า “ไว้จัดตอนอายุ 60 อีกทีก็แล้วกัน”

เซรามิก

คำว่า KUU KA N เป็นศัพท์ญี่ปุ่น แปลตรงตัวได้ว่า “พื้นที่” ถ้าออกเสียงเป็นภาษาไทยจะคล้ายคำว่า “คู่กัน” นิทรรศการนี้จึงมีไอเดียเพื่อชวนเราสำรวจพื้นที่ส่วนตัว และเห็นว่ามันมีความสำคัญอย่างไรในความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคน

เซรามิก

ทั้งคู่คือศิลปินระดับครูที่เวลามีงานอาร์ต เอ็กซิบิชันทีไร จะยังไงลูกศิษย์ลูกหาก็ต้องไปดูกันให้ได้ นาโอมิเป็นศิลปินนักจัดดอกไม้ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ความเป็นศิลปินในตัวเธอไม่ได้โดดเด่นแค่นั้น หากเธอยังหลงใหลงานศิลปะในหลายเทคนิค ทั้งภาพพิมพ์ เพนท์ติ้ง ส่วนบัทม์ คือศิลปินเซรามิกรุ่นใหญ่ที่สะดุดตาและตกหลุมรักความมหัศจรรย์ของดินตั้งแต่สมัยเรียนซึ่งยุคนั้นวิชาศิลปะเซรามิกแทบไม่มีใครชายตามอง

เซรามิก

ในนิทรรศการนี้ เราจึงได้ชื่นชมงานเซรามิกที่มาเข้าคู่กับการจัดดอกไม้ ได้เห็นการจัดวางที่เล่าเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคน แม้บางส่วนบางมุมดูแยกจาก แต่ก็ยังคงมีความเชื่อมโยงให้กลับมาคู่กันได้ นั่นก็คือปรัชญาของความเรียบง่ายและเป็นธรรมชาติซึ่งซ่อนอยู่เบื้องหลังผลงานของบัทม์และนาโอมินั่นเอง

เซรามิก

2.

วิธีคิดของการจัดดอกไม้ระหว่างตะวันตกกับตะวันออก จากประสบการณ์ที่เคยใช้ชีวิตในสหรัฐอเมริกา นาโอมิเล่าว่าสองศาสตร์นี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การจัดดอกไม้สำหรับชาวตะวันตกเน้นประโยชน์เพื่อเป็นของประดับตกแต่ง แต่สำหรับชาวตะวันออกโดยเฉพาะคนญี่ปุ่นแล้ว การจัดดอกไม้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจตัวตนภายใน เพื่อเข้าใจธรรมชาติ

เซรามิก

ศาสตร์การจัดดอกไม้อิเคบานะของญี่ปุ่นจึงไม่เพียงบอกเล่าถึงความสวยงาม แต่ยังแทรกปรัชญาของชีวิตไว้ในนั้น ความโฟลว์ของธรรมชาติ ปล่อยอิสระไปตามรูปทรงของกิ่งก้านโดยไม่ต้องบังคับใดๆ สเปซและฟอร์มต้องสอดประสานกันดูเป็นหนึ่งเดียวกัน

เซรามิก

เซรามิก

เซรามิก

เซรามิก

นาโอมิพาเราเข้าไปชมชิ้นงานจัดแสดงในห้องสีดำด้านหลังหรือ Dark Room ผนังรอบด้านทาสีดำสนิท ด้านหนึ่งโชว์ภาพเพนท์จากดินฝีมือบัทม์ อีกด้านคือฝีมือภาพพิมพ์ของเธอเองตอนเป็นเด็กหญิงอายุ 10 ขวบ ตรงกลางคืองานอิเคบานะหลายชิ้นรวมกันเป็นประติมากรรมชิ้นเอก

เซรามิก

“ทุกอย่างพอมาอยู่ด้วยกันคือ Harmony เบสิกคอนเซปต์ของอิเคบานะก็คือธรรมชาติ” นาโอมิค่อยๆ อธิบายให้เราฟัง จากความเป็นศิลปินนักจัดดอกไม้ที่มีประสบการณ์มากว่า 30 ปี เธอพบว่าท้ายที่สุดแล้วทุกสิ่งต้องหวนคืนสู่ธรรมชาติ ไม่มีอะไรเบี่ยงไปจากนั้นได้

เซรามิก

3.

“ผมใช้ชีวิตอยู่ที่อิงะ 1 ปี นาโอมิบอกว่าเป็นโชคดีที่ผมฟังเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง มันเลยเกิดสิ่งใหม่ที่เป็นตัวผม” บัทม์ย้อนเล่าที่มาของงานเซรามิกที่เขานำมาจัดแสดงในนิทรรศการนี้ เขาลงทุนไปใช้ชีวิตอยู่เพื่อฝึกวิชาเซรามิกจากเซนเซในเมืองนี้

เซรามิก

อิงะเป็นเมืองชนบทของญี่ปุ่น นักท่องเที่ยวรู้จักเมืองนี้ว่าคือ “เมืองนินจา” แต่ภาพลึกลับของเมืองนินจาก็ยังไม่เท่าการเป็นเมืองระดับท็อปของโลกด้านเซรามิก อิงะยังคงรักษาขนบศิลปะเซรามิกแบบดั้งเดิมด้วยปรัชญาอิกะ-ยากิที่มีสไตล์เป็นของตัวเอง “ผมว้าวสุดแล้วกับอิงะ ตรงจริตสุด มาเจองานหยาบๆ แบบนี้มันสะใจมาก” ความหยาบที่เขาพูดถึงคือการแสดงออกถึงสัจจะวัสดุ โชว์ความกร้านของเนื้อดินที่ยังไม่ค่อยเห็นในงานของศิลปินไทย

เซรามิก

บัทม์หลงใหลงานเซรามิกตะวันออกมานานแล้ว นานตั้งแต่ตอนเขาเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย เขายอมรับว่าเซรามิกตะวันตกดูเฟี้ยวฟ้าว มีสีสันกว่าก็จริง ขณะที่ตะวันออกกลับดูสงบ สมถะ เรียบง่าย ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังตอบตัวเองไม่ได้ชัด ว่าทำไมถึงหลงรักงานตะวันออกมากมายขนาดนี้ แต่รู้แน่ๆ ว่าเซรามิกมันน่าตื่นเต้นกว่างานศิลปะแขนงอื่น มันมีรูปทรง มีไดเมนชั่น ยิ่งตอนเปิดเตาก็ยิ่งลุ้น

เซรามิก

เซรามิก

เซรามิก

ซิกเนเจอร์ในงานของบัทม์คือรูปทรงธรรมชาติ โชว์เท็กซ์เจอร์ การใช้ดิน โชว์ความหยาบ และจากที่ได้ใช้ชีวิตในอิงะเป็นปี นิทรรศการครั้งนี้ เราจะได้เห็นผลงานของเขาที่กล้าพูดได้เลยว่ายูนีคสุดๆ “หลายชิ้นไม่ได้เคลือบเลยนะ ใช้ดินโชว์ตัวมันเอง สีขาวก็มาจากระนอง สีน้ำตาลคือดินหนองเสือ ส่วนชิ้นนี้มาจากดินดำ มันคือสีของดินไม่มีน้ำเคลือบใดๆ” เขาทยอยหยิบผลงานที่ว่าให้เราดู และต้องยอมรับเลยว่าทุกชิ้นสวยในความไม่เพอร์เฟกต์

เซรามิก

เซรามิก

ถ้าเดินเข้าไปในห้องเล็กๆ อีกด้าน เราจะพบกับงานเพนท์จากดินของบัทม์ซึ่งจัดวางประกอบกับงานปั้น แน่นอนว่ามันมีเรื่องเล่าอีกเช่นกัน งานชิ้นนี้เกิดจากรูปวาดของบัทม์ที่วาดด้วยดิน แต่ทุกครั้งที่วาดจากเศษดิน เขามักเจอโจทย์ใหม่ให้แก้ตลอด ดินร่วงจากเฟรมบ้าง เมื่อแก้โจทย์นี้ได้ ก็เจอปัญหาว่าม้วนไม่ได้บ้าง จนค้นพบสูตรที่ทำให้คงตัวบนเฟรม สามารถม้วนเก็บได้ เมื่อถูกทาบทามให้นำงานเพนท์มาจัดแสดงในห้องนี้ จะจัดวางแค่ภาพๆ เดียวก็ยังไม่ลงตัวในสายตาเขา บัทม์จึงลงทุนสร้างงานปั้นขึ้นมาประกอบ เป็นรูปหัวคนที่บนนั้นเขียนคำกวี คำมงคลบ้าง ทำให้บรรยากาศของการจัดแสดงในห้องนี้สมบูรณ์ขึ้น

เซรามิก

ในสายตาศิลปินเซรามิกระดับครู บัทม์บอกว่าไทยเป็นประเทศที่มีทุกอย่างเกี่ยวกับเซรามิก มีแหล่งดินทนไฟสูงที่ได้คุณภาพ ในอดีตแทบไม่มีใครสนใจ ศิลปินเซรามิกที่มีชื่อเสียงในไทยน้อยมากแบบนับหัวได้ แต่ยุคนี้วงการเซรามิกคึกคัก แพร่หลายมากขึ้นจากคนเจนเนอเรชันใหม่ๆ และวิธีคิดของสังคมที่เริ่มเปลี่ยนแปลง

เซรามิก

KUU KA N ถือว่าเป็นนิทรรศการที่ทำให้เราสัมผัสถึงตัวตนของทั้งคู่ ในพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคนที่ยังคงละเอียดกับความคิดผ่านชิ้นงานอันเรียบง่าย ด้วยเหตุผลที่ว่าธรรมชาติกับศิลปะนั้นเป็นของคู่กัน ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจกลายเป็นเรื่องเดียวกัน

เซรามิก

เซรามิก

และในวันที่ 29 ตุลาคมซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการจัดแสดงงาน ทั้งบัทม์และนาโอมิจะสาธิตพิธีฮิโมกาเกะ หรือพิธีห่อผลงาน ผู้ที่ซื้อผลงานนั้นจะได้ชมพิธีการห่อและบรรจุเครื่องปั้นดินเผาเพื่อมอบแก่เจ้าของคนใหม่ “เราจะเผยแพร่วัฒนธรรมญี่ปุ่นที่หาดูยากในวันนั้น อาจไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราจะพยายามทำให้มันสมูธที่สุด”

เซรามิก

KUU KA N โดยบัทม์ แก้วงอก และนาโอมิ ไดมารู จัดแสดงที่ละลานตา ไฟน์อาร์ต จนถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2566 นี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :  La Lanta Fine Art

Tags: