About
ART+CULTURE

REBIRTH IN PIECES

วิกฤตความเดียวดายในสังคมที่ถ่ายทอดสู่ R.I.P. งานศิลปะเชื่อมรอยร้าวระหว่างวัย

Beingthere Detour Be myguest FLAVOR Resound art+culture Insights Trends Business Insiders Balance Craftyard News
Read At ONCE
  • ‘วั ย’ ที่ต่างทำให้เราเริ่ม ‘ห่ า ง’ กัน ต่างฝ่ายต่างเริ่มพูดคุยกันน้อยลง ความเข้าใจในกันและกันเริ่มลดลง การปะทะและความห่างเหินเริ่มเข้ามาแทนที่ เมื่อต่างความคิด ต่างอุดมการณ์ ต่างค่านิยม ระยะห่างของบทสนทนายิ่งเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิด ‘วิกฤตความเดียวดายในสังคม’ ตามมา
  • โครงการศิลปะ R.I.P. ของข้าวฟ่าง – สุพรรณิการ์ ติรณปริญญ์ จึงนำคนสองช่วงวัยมาพบปะสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมกัน เพื่อเยียวยาจิตใจที่กำลังรู้สึกเดียวดายให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง สร้างชุมชนของการสร้างสรรค์ ให้คนทุกช่วงวัยได้เข้าใจทัศนคติของกันและกันอย่างเป็นอิสระ

ข้าวฟ่าง - สุพรรณิการ์ ติรณปริญญ์ ศิลปินที่เชื่อว่า ‘ศิลปะคือภาษาที่คนทุกช่วงวัยใช้สื่อสารกันได้อย่างเป็นอิสระ และสามารถทำให้แต่ละคนมองเห็นและเข้าใจทัศนคติของกันได้โดยไม่มีการตัดสิน’ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการศิลปะ R.I.P. สร้างชุนชนสร้างสรรค์โดยให้คนสองวัยได้ทำงานร่วมกัน ตามคอนเซปต์ที่อยากจะเติมเต็มเยียวยาช่องว่างระหว่าง GEN โดยใช้ความสัมพันธ์ของคนต่างวัย

REBIRTH IN PIECES (R.I.P.) จึงเป็นผลงานที่แอบซ่อนและสะท้อนห้วงอารมณ์โดดเดี่ยวเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ ก็ถ้าเปรียบสังคมเป็นบ้าน คนทั้งหมดเป็นครอบครัว ‘เจเนอเรชัน’ เป็นห้องที่แบ่งคนในครอบครัวออกจากกัน โครงการ R.I.P. คงเป็นเหมือนห้องนั่งเล่นในบ้าน ที่ทำให้ทุกคนได้ออกมาใช้เวลาร่วมกันโดยมีศิลปะเป็นสื่อกลาง

วันนี้เธอเลยจะมา ‘ขยาย (ความ)’ ให้เราได้เข้าใจถึงวิกฤตความเดียวดาย แนวคิดการสร้างสรรค์ผลงาน ไปจนถึงเรื่องราวชวนยิ้มและมวลความสุขที่ก่อตัวขึ้น ณ ช่วงเวลานั้น…

REBIRTH IN PIECES

ข้าวฟ่าง – สุพรรณิการ์ ติรณปริญญ์

ต่างก็แตกสลาย ต่างก็เดียวดาย

เราว่าพอประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย ความเดียวดายมันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วัยรุ่นก็ต้องทำงาน ผู้สูงอายุก็ต้องอยู่บ้าน กลายเป็นว่าไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุที่รู้สึกเดียวดาย แต่กลุ่มวัยรุ่นเองก็เหมือนกัน เลยมองว่าถ้าสองกลุ่มนี้ได้มาทำอะไรร่วมกัน น่าจะทำให้ทั้งสองฝ่ายรู้สึกดีขึ้นมาได้

REBIRTH IN PIECES

REBIRTH IN PIECES

REBIRTH IN PIECES

REBIRTH IN PIECES เป็นเหมือนกิจกรรมที่เราตั้งใจจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัย ให้พวกเขาได้มีพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน

REBIRTH IN PIECES

REBIRTH IN PIECES

REBIRTH IN PIECES

รอยแตกร้าวก็เหมือนกับการปะทะกันระหว่างวัยในสังคม ส่วน ‘คินสึงิ’ เป็นปรัชญาหนึ่งของญี่ปุ่นที่ใช้วิธีการซ่อมแซมของที่แตกสลายหรือไม่สมบูรณ์ ให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง อาจไม่ได้กลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิม แต่มันก็มีคุณค่าในความงามเหมือนกัน ซึ่งจริงๆ ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตคนเรา หรือสภาพสังคมใดๆ ก็ตาม ก็เหมือนว่าเราเองก็ต่างประสบพบเจออะไรที่ทำให้ตัวเราต้องแตกสลาย ร่องรอยเหล่านั้นก็เหมือนเป็นประสบการณ์ที่เราผ่านมา และกำลังถูกหล่อหลอมกลับขึ้นมาใหม่เป็นตัวเรา ที่ก้าวผ่านประสบการณ์นั้นๆ มาได้ และนั่นก็เป็นคุณค่าหรือความงามอีกรูปแบบหนึ่ง

REBIRTH IN PIECES

REBIRTH IN PIECES

ต่างวัย ต่างมุมมอง ต่างต้องพูดคุย

จะเห็นว่างานแต่ละชิ้นที่ผู้สูงอายุทำร่วมกับกลุ่มวัยรุ่นจะไม่ได้ออกมาสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์เหมือนเทคนิคคินสึงิที่ละเมียดละไม ส่วนมากจะออกมาตามประสบการณ์และความสามารถของแต่ละคนมากกว่า

REBIRTH IN PIECES

ช่วงแรกของกิจกรรม เขายังไม่รู้จักกัน ก็อาจจะยังนิ่งๆ เหมือนมีกำแพงอะไรบางอย่าง แต่พอได้ทำกิจกรรมร่วมกันสักพัก ได้ช่วยกันประกอบงานขึ้นมา ทำให้ได้พูดคุยกัน ได้แลกเปลี่ยนเปลี่ยนทัศนคติ เรื่องราวชีวิตของตัวเองให้กันฟัง จนเกิดเป็นบรรยากาศที่อบอุ่นหัวใจขึ้นมา พอเราใช้ศิลปะเป็นสื่อกลาง เลยทำให้เขาแลกเปลี่ยนทัศนคติกันได้แบบอิสระ เพราะไม่มีการตัดสินกันเกิดขึ้นระหว่างนั้น มีแต่การพูดคุยกัน มีแต่ความเอื้อเฟื้อ ซึ่งเป็นอะไรที่น่ารักมากเลย อย่างผู้สูงวัยบางคนด้วยภาวะที่เขาเจอมา อาจทำให้ไม่มีกำลังใจ ไม่มีเรี่ยวแรงในการทำอะไร แต่พอมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ หลายคนจะรู้สึกว่าตัวเองยังมีความสามารถอยู่นะ เหมือนทำให้เขาได้รู้สึกมีคุณค่ากับตัวเองอีกครั้ง

REBIRTH IN PIECES

REBIRTH IN PIECES

ต่าง GEN แล้วไง ถ้าใจไม่ห่างกัน

จริงๆ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ ก็มีอะไรที่อยากฝากบอกลูกหลานเยอะแยะเลยนะ คิดถึง อยากให้กลับมาหา แสดงให้เห็นว่า เขาก็ประสบความอ้างว้างเดียวดายอยู่เหมือนกัน หรืออย่างกลุ่มวัยรุ่นที่เข้าร่วมกิจกรรมก็บอกว่า ทำให้นึกถึงคนที่บ้าน ทำให้ได้มองกลับมาที่เรื่องราวของตัวเองอีกครั้ง

REBIRTH IN PIECES

REBIRTH IN PIECES

ผู้สูงอายุบางคนที่บอกว่าเหงา กลุ่มวัยรุ่นที่ได้มาอยู่ด้วยกันก็เป็นเหมือนลูกหลานเขา ทำให้เขารู้สึกดีขึ้น ได้พูดคุย ในขณะเดียวกัน กลุ่มวัยรุ่นเองก็อาจจะมีมุมมองต่อผู้สูงอายุในอีกรูปแบบหนึ่งตามประสบการณ์ที่เจอมา แต่พอเขาได้เข้าร่วมกิจกรรม หลายคนบอกว่ารู้สึกดีมาก เหมือนได้เติมเต็มความรู้สึกที่ขาดไป

REBIRTH IN PIECES

REBIRTH IN PIECES

ก็อยากให้ทุกคนค่อยๆ ไล่ดูทีละชิ้น เพราะจะได้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับวัยรุ่นที่ช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมา อาจจะไม่ได้สมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างที่บอกว่า นี่คือความสัมพันธ์ ความอบอุ่นที่เกิดขึ้น จนออกมาเป็นชิ้นงาน ถ้าสแกนคิวอาร์โค้ดที่อยู่ข้างๆ ผลงาน จะมีความรู้สึกของลุงๆ ป้าๆ แล้วก็เด็กๆ ที่อยากฝากถึงคนที่บ้าน หรือเป็นความรู้สึกของเขาเองที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วยนะ ลองแวะมาอ่านกันดูได้ เผื่อเราเองจะเข้าใจเขามากขึ้น

REBIRTH IN PIECES

REBIRTH IN PIECES

ถ้าถามว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้คนสอง GEN เข้าใจกันมากขึ้น เราว่าคงต้องมีสื่อกลางบางอย่างที่จะทำให้คนสองวัยเปิดใจเข้าหากัน โดยที่สามารถแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดกันได้อย่างอิสระ ลึกๆ เราอยากเห็นกิจกรรมแบบนี้เกิดขึ้นในหลายๆ พื้นที่นะ (ยิ้ม)

REBIRTH IN PIECES

ป.ล. นี่เป็นการสนทนากันเกือบชั่วโมงที่คนเล่ามีรอยยิ้มเล็กๆ อยู่ตลอด จนคนฟังก็อดยิ้มตามไม่ได้ ยิ่งได้มาเดินดูผลงาน สแกนอ่านความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ในนั้น ยิ่งรู้สึกชุบชูใจ ขอปิดท้ายด้วยประโยคเบสิกแต่มาจากใจเหมือนเดิมว่า นิทรรศการ ‘สูงวัย…ขยาย (ความ)’ และผลงาน REBIRTH IN PIECES เป็นอีกหนึ่ง EXHIBITION ดีๆ ที่น่าไปดูมากๆ เลยล่ะ

REBIRTH IN PIECES เป็นผลงานศิลปะส่วนหนึ่งในนิทรรศการ “สูงวัย…ขยาย(ความ) ที่มุ่งสร้างความเข้าใจและชวนทุกคนมองเห็นคุณค่าของผู้สูงวัย ในวันที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว
สถานที่ : ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 9 Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ระยะเวลา : ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม – 26 พฤศจิกายน 2566

Tags: